กรมสรรพากรมีอำนาจ ยึดทรัพย์ อายัดบัญชีธนาคาร ได้
สรุปสั้นๆ:
ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร หากบุคคลใดมีภาษีอากรค้าง กรมสรรพากรสามารถยึดหรืออายัดทรัพย์และขายทอดตลาดได้เลยโดยยังไม่ต้องฟ้องต่อศาลก่อนก็ได้ และระยะเวลาที่มีอํานาจทําได้ก็เป็นเวลานานถึง 10 ปี
เมื่อกรมสรรพากรทําการยึดหรืออายัดทรัพย์ จะมีผลทําให้ทรัพย์นั้นไม่สามารถนํามาใช้ได้ และไม่สามารถโอนขายหรือโอนทางทะเบียนต่อไปได้จนกว่าจะชําระภาษีอากรครบถ้วน เช่น
- กรณีกรมสรรพากรยึดที่ดินแล้ว ที่ดินนั้นก็ไม่สามารถโอนขายต่อไปได้
- กรณีกรมสรรพากรอายัดบัญชีเงินฝากของธนาคารไว้แล้ว ทําให้บัญชีเลขที่นั้นไม่สามารถเบิกถอนนําไปใช้ได้อีก
หากผู้ค้างภาษีอากรถึงแก่ความตายไปแล้วก็ตามก็ยังไม่หลุดพ้นหนี้ภาษีอากรที่จะต้องเสียให้แก่กรมสรรพากร ทายาทที่รับมรดกก็จะต้องนํามรดกที่ได้รับมาเสียภาษีอากรให้ครบถ้วนด้วย
จะเห็นได้ว่ากรมสรรพากรมีอำนาจมากมาย ดังนั้นเสียภาษีให้เรียบร้อยแต่แรกจะน่าจะสบายใจกว่านะคะ :)
หากต้องการหาผู้ช่วยดูแลจัดการภาษี ก็สามารถคลิกที่รูปด้านล่างนี้ เพื่อไปค้นหา สำนักงานบัญชี ในพื้นที่คุณได้เลย!!
อ่านแบบยาวๆ:
ไม่ชำระภาษีอากรมีผลเสียมากกว่าที่คิดนะจ๊ะ
ประมวลรัษฎากรเป็นกฎหมายพิเศษที่ใช้สําหรับจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์และอีกทั้งมีมาตรการบังคับให้ชําระภาษีได้ในตัวเอง ซึ่งเป็นขั้นตอนพิเศษก่อนจะดําเนินการฟ้องคดีต่อศาล
ความเสียหายจากการไม่เสียภาษีอากรให้แก่กรมสรรพากรนั้น แยกพิจารณาเป็น 3 กรณี
1. ก่อนถูกกรมสรรพากรฟ้องต่อศาล
เมื่อมีภาษีอากรที่จะต้องเสียให้แก่กรมสรรพากรแล้ว แต่ไม่ยอมเสีย ต่อมาเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรตรวจพบและแจ้งการประเมินให้ทราบแล้ว นอกจากจะต้องเสียดอกเบี้ยให้กับกรมสรรพากรในอัตราสูงร้อยละ 1.5 ต่อเดือนและอาจโดนเบี้ยปรับอีกด้วย
โปรดระวังตัวไว้เลยว่า กรมสรรพากรมีอํานาจพิเศษที่จะทําการเร่งรัดตรวจสอบทรัพย์สินต่าง ๆ ทุกชนิดได้ทันที เพื่อให้ได้ภาษีอากร โดยยังไม่ต้องนําหนี้ภาษีอากรที่ค้างนั้นฟ้องต่อศาลก็ได้
กรมสรรพากรก็ยังสามารถยึดหรืออายัดทรัพย์และขายทอดตลาดได้เลย โดยยังไม่ต้องฟ้องต่อศาลก่อนก็ได้ และระยะเวลาที่มีอํานาจทําได้ก็เป็นเวลานานถึง 10 ปี และหากในระหว่างนี้ทําการยักย้ายทรัพย์สินก็อาจจะมีความผิดอาญาเพิ่มขึ้นไปอีกฐานมีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอาจติดคุกได้
เมื่อกรมสรรพากรทําการยึดหรืออายัดทรัพย์ จะมีผลทําให้ทรัพย์นั้นไม่สามารถนํามาใช้ได้ และไม่สามารถโอนขายหรือโอนทางทะเบียนต่อไปได้จนกว่าจะชําระภาษีอากรครบถ้วน เช่น
- กรณีกรมสรรพากรยึดที่ดินแล้ว ที่ดินนั้นก็ไม่สามารถโอนขายต่อไปได้
- กรณีกรมสรรพากรอายัดเงินฝากของธนาคารไว้แล้ว ทําให้บัญชีเลขที่นั้นไม่สามารถเบิกถอนนําไปใช้ได้อีก
2. กรมสรรพากรนําคดีมาฟ้องต่อศาล
เป็นกรณีที่ผู้ค้างภาษีอากรยังดื้อดึงที่ไม่ยอมชําระหนี้ภาษีอากรค้างต่อกรมสรรพากร กรมสรรพากรก็ชอบที่จะดําเนินคดีทางศาลทั้งทางแพ่งและทางอาญาต่อไปได้ เช่น
- ฟ้องที่ศาลภาษีอากรกลาง
- เป็นกรณีกรมสรรพากรเลือกฟ้องเพราะไม่สามารถเร่งรัดเรียกหนี้ภาษีอากรค้างได้แล้ว
- ศาลนี้มีที่เดียวคือที่กรุงเทพมหานครเท่านั้น ต่างจังหวัดไม่มีทําให้ลูกหนี้ที่ค้างภาษีอากรอยู่ที่ต่างจังหวัดต้องเดินทางเข้ามาสู้คดีในกรุงเทพมหานคร ทําให้เกิดความเสียหายคือมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นไปอีกนอกจากจะเสียค่าจ้างทนายความแล้ว
- ฟ้องที่ศาลล้มละลายกลาง
- เป็นกรณีหนี้เข้าหลักเกณฑ์ฟ้องได้ทําให้ลูกหนี้อาจเสียสิทธิและเสรีภาพเพิ่มขึ้น
- ศาลนี้มีที่เดียวคือที่กรุงเทพมหานครเท่านั้น ต่างจังหวัดไม่มีทําให้ลูกหนี้ที่ค้างภาษีอากรอยู่ที่ต่างจังหวัดต้องเดินทางเข้ามาสู้คดีในกรุงเทพมหานคร ทําให้เกิดความเสียหายคือมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นไปอีกนอกจากจะเสียค่าจ้างทนายความแล้ว
- หากต่อมาศาลล้มละลายกลางมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว แม้จะยังไม่พิพากษาให้ล้มละลายก็ตาม ก็มีผลเสียต่อสิทธิและเสรีภาพของลูกหนี้คือไม่สามารถออกนอกราชอาณาจักรได้ตามปกติจะต้องขออนุญาตจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เสียก่อน
- ฟ้องที่ศาลเดียวกับลูกหนี้ถูกฟ้องเกี่ยวกับทรัพย์ที่ขายทอดตลาด
- กรมสรรพากรสามารถที่จะเข้าไปของเฉลี่ยหนี้ได้ไม่ว่าจะเป็นศาลแพ่ง ศาลแพ่งพระนครเหนือ ศาลแพ่งธน ศาลจังหวัด ศาลแรงงานกลาง ก็ได้
- ฟ้องที่ศาลอาญา
- เป็นกรณีที่กระทําความผิดทางอาญาฐานปลอมใบกํากับภาษีเช็คเด้ง หรือมีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอากร
3. หลังจากศาลมีคำพิพากษาแล้ว
เมื่อศาลภาษีอากรกลางมีคําพิพากษาให้กรมสรรพากรชนะคดีแล้ว กรมสรรพากรก็สามารถดําเนินการบังคับคดีได้ตามกฎหมายได้อีกเป็นระยะเวลา 10 ปี
และหากในระหว่างนั้นยังไม่ได้รับชําระภาษีอากรครบถ้วนและยังเข้าหลักเกณฑ์ที่จะฟ้องล้มละลายได้กรมสรรพากรก็ยังสามารถนําหนี้ภาษีอากรนั้นมาฟ้องยังศาลล้มละลายกลางได้อีกครั้งหนึ่ง
หากผู้ค้างภาษีอากรถึงแก่ความตายไปแล้วก็ตามก็ยังไม่หลุดพ้นหนี้ภาษีอากรที่จะต้องเสียให้แก่กรมสรรพากร ทายาทที่รับมรดกก็จะต้องนํามรดกที่ได้รับมาเสียภาษีอากรให้ครบถ้วนด้วย
ท้ายที่สุดก็ไม่สามารถที่จะหลบหนีจากการไม่เสียภาษีอากรให้แก่กรมสรรพากรไปได้ จึงขอให้ทุกท่าน เสียภาษีอากรให้ครบถ้วนเสียแต่เนิ่นๆ
ไม่รู้เรื่องภาษี จะเริ่มต้นอย่างไรดี?
หากไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร สามารถปรึกษา-ว่าจ้างให้สำนักงานบัญชีจัดการดูแลภาษีให้กิจการท่านได้
โดยท่านสามารถค้นหาสำนักงานบัญชีในพื้นที่ท่านได้ง่ายๆ เพียง
- คลิก เพื่อค้นหาสำนักงานบัญชี รับทำบัญชี
- ระบุจังหวัด และเขต(เฉพาะกรุงเทพมหานคร)
- ระบุประเภทกิจการคุณในตัวกรองผลลัพธ์ เช่น ประเภทธุรกิจ, ประเภทนิติบุคคล เป็นต้น
- ติดต่อสำนักงานบัญชี และ ฟรีแลนซ์ รับทำบัญชี ที่โดนใจคุณได้โดยตรงเลย ตามข้อมูลการติดต่อที่นักบัญชีให้ไว้ได้เลย :)
---
ที่มาข้อมูล:
สาระน่ารู้-กฎหมายรอบตัว เรื่องที่ 16 ไม่ชำระภาษีอากรมีผลเสียมากกว่าที่คิดนะจ๊ะ เรียบเรียงโดยนายพิษณุ ผาสุกมโน ที่มา http://webinter.rd.go.th/region1/fileadmin/pdf/227-56.pdf