ปิดงบการเงิน

ปิดงบการเงิน

ปิดงบการเงิน คืออะไร ทำไมต้องดำเนินการ

     ปิดงบการเงิน คือ การจัดการทางบัญชีของ บริษัท ห้างหุ้นส่วน สำหรับการประกอบกิจการนั้น ๆ เพื่อจัดส่งรายละเอียดการปิดงบการเงินให้แก่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าและสรรพากร

     ซึ่งการปิดงบการเงินนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นเนื่องจากเป็นเรื่องที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างชัดเจน โดยจะผู้ประกอบการจะต้องจัดให้มีผู้จัดทำบัญชีในกิจการของตน 

     ปิดงบการเงินอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อจะได้ทราบทิศทางการเงิน การรายงานทางบัญชีการเงินให้แก่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าและสรรพากร

ปิดงบการเงิน คืออะไร

            “งบการเงิน” คือรายงานทางบัญชีที่เกี่ยวกับการเงินของการประกอบกิจการในธุรกิจนั้น ๆ เพื่อให้ทราบถึงสถานะทางการเงินของนิติบุคคลนั้น ๆ และทำให้ทราบทิศทางการบริหารงาน ฐานะทางการเงินของบัญชีภายในธุรกิจนั้น ๆ

            ดังนั้น“การปิดงบการเงิน” คือ การจัดการกับงบการเงินเมื่อถึงกำหนดสิ้นรอบบัญชี ที่จำเป็นต้องดำเนินการปิดงบการเงินและนำส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและสรรพากรตามที่กฎหมายกำหนด

หากไม่ดำเนินการตามนี้ก็จะถือว่าฝ่าฝืนต่อกฎหมายและทำให้มีโทษปรับตามมา ในปัจจุบันการยื่นปิดงบการเงินสามารถยื่นผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิคส์หรือส่งทางไปรษณีย์ก็ได้

เพื่อความสะดวกของผู้ประกอบการ แต่ทั้งนี้จะต้องยื่นภายในระยะเวลาที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าและสรรพากรกำหนดด้วย

  

ขั้นตอนการ “ปิดงบการเงิน”

            การปิดงบการเงินสำหรับแนวทางเพื่อให้ปฏิบัติได้ง่ายและสะดวกต่อธุรกิจนั้น ๆ พร้อมทั้งยังช่วยให้การบริหารจัดการธุรกิจเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและตรวจสอบได้ง่าย

            จึงควรมีการจัดทำบัญชีแสดงรายรับ-รายจ่ายของธุรกิจอยู่เป็นประจำ ซึ่งการจัดทำบัญชีรายเดือน แยกรายละเอียดรายรับ – รายจ่ายออกจากกันอย่างชัดเจน

             รวมไปถึงการจัดเก็บเอกสารการจัดซื้อต่าง ๆ ใบเสร็จ บิลต่าง ๆ ฯลฯ เพื่อจัดทำบัญชีในแต่ละเดือน ก็จะช่วยให้จัดทำงบการเงิน การปิดงบการเงินในแต่ละรอบบัญชีได้ง่ายขึ้นด้วย

            โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

            1. ให้จัดเก็บรายละเอียด ใบเสร็จ การซื้อ การขายต่าง ๆ แยกไว้เป็นหมวดหมู่ให้เรียบร้อย เพื่อง่ายต่อการสรุปยอดบัญชี

            2. หากเป็นธุรกิจที่เป็นบริษัทจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT ก็จะต้องมีรายงานภาษีซื้อ-ภาษีขายให้ครบถ้วนด้วย โดยจะต้องนำเอกสารบิลที่ซื้อหรือขายแนบพร้อมกับรายงานภาษีซื้อ-ภาษีขายประกอบเพื่อนำส่งต่อไป

            3. จัดเตรียมรายงานการเงินที่เดินบัญชีหรือ Statement ให้ครบถ้วนทุกเดือนเรียงกันไป เพื่อสะดวกต่อการตรวจสอบ 

            4. นำเอกสารการเงินทุกอย่างที่จัดเตรียมไว้ให้สำนักงานบัญชีเพื่อจัดทำการปิดงบการเงิน หรือหากธุรกิจใดมีเจ้าหน้าที่บัญชีอยู่แล้ว ก็สามารถจัดทำงบการเงินได้เลย

            5. รวบรวม จัดเก็บเอกสารจากการปิดงบการเงินในแต่ละรอบบัญชีให้เรียบร้อย เพื่อเป็นข้อมูลจัดเก็บสำหรับธุรกิจต่อไป

            การปิดงบการเงินที่ถูกต้องจะต้องยื่นภายใน 150 วันต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าหรือสรรพากรนับจากวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี

            ไม่เช่นนั้นอาจจะมีค่าปรับที่ตามมา โดยเราสามารถยื่นงบการเงินผ่านช่องทางออนไลน์ได้ในปัจจุบัน เพื่ออำนวยความสะดวกต่อผู้ประกอบการทุกประเภท

 

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

Preloader

กำลังประมวลผลข้อมูล กรุณารอสักครู่