พัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้ทำบัญชี CPD

พัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้ทำบัญชี CPD

พัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้ทำบัญชี CPD


การพัฒนาตัวเองเกี่ยวกับงานวิชาชีพด้านบัญชี

ที่ต้องมีการฝึกอบรม ศึกษาเรียนรู้ต่างๆ ซึ่งการพัฒนาความรู้นี้ได้บรรจุลงบนระเบียบข้อบังคับของสภาวิชาชีพบัญชีเอาไว้ชัดเจน ซึ่งนักบัญชีควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด วิธีการนี้เรียกว่า  CPD ย่อมาจาก Continuing Professional Development หมายความว่า

การพัฒนาต่อเนื่องทางวิชาชีพ ซึ่งนักบัญชีต้องเข้ารับการอบรม CPD ให้ครบจำนวน ตามชั่วโมงที่กำหนดไว้

1. ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ต้องเก็บชั่วโมง CPD 40 ชั่วโมงต่อปี โดยแบ่งเป็น

- ชั่วโมง CPD ที่เป็นทางการ 20 ชั่วโมงต่อปี ซึ่งต้องมีเนื้อหาเกี่ยวกับการบัญชีหรือการสอบบัญชีไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่ง

- ชั่วโมง CPD ที่ไม่เป็นทางการ 20 ชั่วโมงต่อปี และต้องยื่น CPD ภายในวันทำการสุดท้าย ของปี

2. ผู้ทำบัญชี ต้องเก็บชั่วโมง CPD 12 ชั่วโมงต่อปี เป็นวิชาเกี่ยวกับการบัญชีไม่น้อยกว่าครึ่งและต้องยื่นหลักฐานจำนวนชั่วโมง CPD ภายในวันที่ 30 มกราคม ของทุกปี

กิจกรรมการพัฒนาความรู้ต่อเนื่อง แบบเป็นทางการ ประกอบด้วย

1. การอบรมหรือสัมมนา รวมถึงการอบรมหรือสัมมนาในรูปแบบสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-learning

2. การเป็นวิทยากร ผู้บรรยาย ผู้ดำเนินการสัมมนา

3. การเป็นอาจารย์ในสถาบันการศึกษา ของรัฐ หรือสถาบันการศึกษาของเอกชน ซึ่งมีการสอนไม่ต่ำกว่าระดับอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชี หรือเทียบเท่า

4. การสำเร็จการศึกษาในคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี ไม่ว่าคุณวุฒิใหม่นั้นจะสูงกว่าคุณวุฒิเดิมหรือไม่ก็ตาม

5. การผ่านการศึกษาเฉพาะรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี จากสถาบันการศึกษาของรัฐ หรือสถาบันการศึกษาของเอกชน ซึ่งมีการสอนไม่ต่ำกว่าระดับอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชีหรือเทียบเท่า

6. จัดทำผลงานทางวิชาการเกี่ยวกับวิชาชีพบัญชี โดยได้เผยแพร่ต่อสาธารณชนผ่านทางที่ประชุมวิชาการ วารสารวิชาการ หรือในรูปแบบอื่นตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสภาวิชาชีพบัญชี เช่น การเขียนบทความ งานวิจัย หนังสือ หรือตำราทางวิชาการ เป็นต้น

กิจกรรมการพัฒนาความรู้ต่อเนื่อง แบบไม่เป็นทางการ ประกอบด้วย

1. อบรมสัมมนา ความรู้ในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหรือวิชาชีพ

การนับชั่วโมง : นับได้ตามจำนวนชั่วโมงการเข้าอบรมหรือสัมมนาจริง

หลักฐาน : หนังสือรับรอง หรือหลักฐานอื่น ๆ

เช่น อบรมหลักสูตรการบริหารความเสี่ยงองค์กร จัดโดย ศูนย์บริการวิชาการและการศึกษาต่อเนื่อง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อบรมหลักสูตรการบริหารผลงาน สู่ความเป็นเลิศ (In-house) จัดโดยศูนย์ฝึกอบรม The Best-Training

2. การรับฟังข่าวสารทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพผ่านสื่อต่าง ๆ 

การนับชั่วโมง : นับได้ตามจริง แต่ไม่เกินสองชั่วโมงต่อครั้ง

หลักฐาน : หลักฐานการรับฟังหรือหลักฐานอื่น ๆ

เช่น ชมรายการคิดลึกคิดไกลไปกับหอการค้า ช่อง Nation TV, ฟังรายการกระแสเศรษฐกิจ ผ่านสถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

3. การอ่านวารสารวิชาการ หรือบทความต่างๆ

การนับชั่วโมง : นับได้ตามจริง แต่ไม่เกินสองชั่วโมงต่อหนึ่งหัวข้อ

หลักฐาน : หลักฐานการอ่าน หรือหลักฐานอื่นๆ

เช่น อ่าน FAP Newsletter เรื่อง นิติบัญชีศาสตร์ กับ M-Score ดัชนีชี้วัดความผิดปกติในงบการเงิน, อ่าน e-Book คู่มือแนะน าการชำระภาษีอากรกิจการจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง โดยกรมสรรพากร

4. เข้าร่วมประชุมหรืออภิปรายกลุ่ม

การนับชั่วโมง : นับได้ตามจำนวนชั่วโมง การเข้าร่วมประชุมหรืออภิปรายกลุ่มจริง

หลักฐาน : หลักฐานการเข้าร่วมการประชุม

เช่น เข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมการสาขาวิชาการบัญชี คณะกรรมการฝ่ายวิชาการและประกันคุณภาพการศึกษา สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, เข้าร่วมประชุมสมาชิกชมรมผู้ตรวจสอบภายในธนาคารและสถาบันการเงิน

5. การศึกษาดูงานหรือเยี่ยมชมการดำเนินงานของกิจการหรือหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

การนับชั่วโมง : นับได้สามชั่วโมงต่อครั้ง

หลักฐาน : หลักฐานการดูงาน หรือหลักฐานอื่น ๆ

เช่น ศึกษาดูงานการจัดการคลังสินค้าและกระจายสินค้า ณ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน), ศึกษาดูงานกระบวนการผลิตน้ าตาลทราย ณ บริษัท วังขนาย จำกัด

6. วิทยากร ผู้บรรยาย ผู้ช่วยผู้บรรยายที่มีความรู้และประสบการณ์ในเรื่องนั้น

การนับชั่วโมง : ช่วงเวลาการเตรียมสื่อการสอนหรือการบรรยายนับได้สองเท่าของชั่วโมงบรรยายจริงและช่วงเวลาการบรรยายนับได้ตามชั่วโมงการบรรยายจริง

หลักฐาน : สื่อการสอนที่ใช้บรรยายและหลักฐานการเป็นวิทยากร ผู้บรรยายหรือผู้ช่วยบรรยาย

เช่น อาจารย์พิเศษ สอนวิชาการสอบบัญชี มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ประจำภาคการศึกษาที่ 2/2558, วิทยากรบรรยายหลักสูตร การเจรจาต่อรองเพื่อความสำเร็จ จัดโดย สถาบันที่ปรึกษาและพัฒนาธุรกิจ Step Plus Training

7. การสัมภาษณ์หรือสอบถามเพื่อประโยชน์ทางวิชาการและวิชาชีพ

การนับชั่วโมง : นับได้ตามจริง แต่ไม่เกินสองชั่วโมงต่อครั้ง

หลักฐาน : หลักฐานการสัมภาษณ์ หรือหลักฐานอื่น ๆ

เช่น สัมภาษณ์ผู้นำชุมชนและสมาชิกกลุ่มแม่บ้านทอผ้าด้วยมือชุมชนเปรมฤทัยเพื่อประเมินความรู้ความเข้าใจ ด้านการบัญชีของผู้นำชุมชนและสมาชิก และถ่ายทอดความรู้ทางด้านบัญชีให้แก่ผู้นำชุมชนและสมาชิก, เป็นผู้ดำเนินรายการโครงการเสวนาด้านการตรวจสอบภายใน หัวข้อ “ความท้าทายของผู้ตรวจสอบภายในต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน”

8. การเขียนวารสารวิชาการ หรือบทความต่าง ๆ เผยแพร่แก่สาธารณชน

การนับชั่วโมง : นับได้ตามจริง แต่ไม่เกินสามชั่วโมงต่อเรื่อง

หลักฐาน : ผลงานที่เผยแพร่ หรือหลักฐานอื่น ๆ

เช่น เขียนบทความวิชาการ เรื่อง การควบรวมกิจการ เผยแพร่ ในวารสาร

9. ชั่วโมง CPD ส่วนที่เกินจากแบบเป็นทางการ หากมีชั่วโมงส่วนเกินจากการพัฒนาความรู้แบบเป็นทางการ สามารถนำมานับรวมได้

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

Preloader

กำลังประมวลผลข้อมูล กรุณารอสักครู่