แบบฟอร์ม บิลเงินสด ใบเสร็จรับเงิน ที่ถูกต้องสรรพากรยอมรับ

แบบฟอร์ม บิลเงินสด ใบเสร็จรับเงิน ที่ถูกต้องสรรพากรยอมรับ

วันนี้เราจะมาศึกษากันว่าแบบฟอร์ม บิลเงินสด และ เอกสารการจ่ายเงิน ที่ถูกต้อง ที่สรรพากรยอมรับให้นำมาเป็นรายจ่ายทางภาษีได้นั้นเป็นอย่างไร

   

รายจ่ายทางภาษีคืออะไร?

รายจ่ายทางภาษี คือ รายจ่ายที่กรมสรรพากรอนุญาตให้นำมาหักลดกำไร ซึ่งจะนำไปเป็นฐานในการคิดภาษีได้นิติบุคคล

   
โดยภาษีที่ต้องชำระ = กำไรสุทธิทางภาษี x อัตราภาษี 

และ  กำไรสุทธิทางภาษี = รายได้ทางภาษี - รายจ่ายทางภาษี

   
ดังนั้นยิ่งรายจ่ายทางภาษีเยอะ --> กำไรจะยิ่งน้อย --> ภาษีที่ต้องเสียก็จะน้อยลงเช่นกัน

ในทางกลับกัน ถ้ารายจ่ายทางภาษีน้อย --> กำไรจะยิ่งเยอะ --> ภาษีที่ต้องเสียก็จะเยอะขึ้นตามมา

รายจ่ายทางภาษี

   
อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกการจ่ายเงิน กิจการจะสามารถนำมาใช้เป็นรายจ่ายทางภาษีได้  รายจ่ายทางภาษีจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนดเท่านั้น

  

เงื่อนไขหลักๆของรายจ่ายทางภาษี คือ จะต้องเป็น

  • รายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับกิจการ (มาตรา 65 ตรี(13)) 
  • รายจ่ายที่เกิดขึ้นจริง (มาตรา 65 ตรี(9)) และ
  • รายจ่ายที่พิสูจน์ได้ว่าใครเป็นผู้รับ (มาตรา 65 ตรี(18))

รายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับกิจการ คือ เป็นรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการ เพื่อมุ่งหากำไร

  
รายจ่ายที่เกิดขึ้นจริง และพิสูจน์ได้ว่าใครเป็นผู้รับ คือ ต้องมีหลักฐานการจ่ายเงินที่พิสูจน์ได้ว่า กิจการได้มีการจ่ายเงินออกไปจริงๆ และใครเป็นผู้รับเงิน ไม่ได้ปลอมหรือสร้างรายจ่ายขึ้นมาเอง

  

ดังนั้น เพื่อวางแผนภาษี ผู้ประกอบการจะต้องไม่ละเลยการบริหารรายจ่ายทางภาษี ซึ่งวิธีการเบื้องต้นคือการทำให้รายจ่ายที่กิจการได้จ่ายไป เป็นรายจ่ายทางภาษีได้

  

น้ำปลาตราชั่ง กะปิตราชั่ง น้ําปลายี่ห้อไหนอร่อย

   

เอกสารรายจ่ายที่สรรพากรยอมรับ

การพิสูจน์รายจ่าย เป็นปัญหาพื้นฐานที่กิจการมักประสบ

กิจการต้องพิสูจน์ให้เจ้าหน้าที่กรมสรรพากรเชื่อว่ารายจ่ายเหล่านั้น เป็นรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ มีการจ่ายจริง และผู้รับมีตัวตนจริง

  
เพื่อป้องกันปัญหาในการพิสูจน์รายจ่ายกับกรมสรรพากร เพื่อให้กรมสรรพากรยอมรับให้ถือเป็นรายจ่ายได้ เอกสารประกอบรายจ่ายจะต้องประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ดังนี้

  1. ชื่อ – ที่อยู่ ของผู้รับเงิน
  2. เลขประจำตัวผู้เสียภาษี 13 หลัก ของผู้รับเงิน
  3. ชื่อ – ที่อยู่ ของผู้จ่ายเงิน
  4. รายละเอียดสิ่งที่ซื้อ/ใช้บริการ ต้องเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ

ถ้าหลักฐานครบ 4 ข้อนี้ จะช่วยให้หลักฐานรายจ่ายมีน้ำหนัก และลดข้อโต้แย้งไปได้

รับทำบัญชี ยื่นภาษี สำนักงานบัญชี จ้างทำบัญชี บริษัททำบัญชี

    
บิลเงินสด ใช้เป็นรายจ่ายทางภาษี ได้หรือไม่?

บิลเงินสด / ใบเสร็จรับเงิน / ใบรับ / ใบรับเงิน เป็นเอกสารที่ออกโดยผู้รับเงิน เพื่อเป็นหลักฐานว่าหนี้หรือสิทธิเรียกร้องได้ชำระหรือปลดให้แล้ว

  
บิลเงินสด / ใบเสร็จรับเงิน / ใบรับ / ใบรับเงิน จะใช้เป็นรายจ่ายทางภาษีได้ต้องประกอบด้วยข้อมูลเหล่านี้

  1. เลขประจำตัวผู้เสียภาษี 13 หลัก ของผู้รับเงิน
  2. ชื่อ/ยี่ห้อ ของผู้รับเงิน
  3. เลขที่ และเล่มที่
  4. วัน เดือน ปี ที่ออก
  5. จำนวนเงินที่รับ
  6. ชนิด ชื่อ จำนวน และราคาสินค้า

โดยชื่อเรียกของเอกสารไม่สำคัญเท่าข้อมูลในเอกสาร จะต้องประกอบด้วยข้อมูลข้างต้นนี้จึงจะใช้เป็นรายจ่ายทางภาษีได้

บิลเงินสด

  
ผู้รับเงินไม่ออกหลักฐานให้ ต้องทำอย่างไร?

ในบางกรณี ผู้รับเงินอาจจะไม่สามารถออกใบเสร็จรับเงิน หรือเอกสารหลักฐานการรับเงินให้ได้

ทางแก้ที่1: ใบสำคัญรับเงิน

กิจการในฐานะผู้จ่ายออก “ใบสำคัญรับเงิน” และให้ผู้รับเงินเซนต์ชื่อรับเงิน พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชน

ใบสำคัญรับเงิน ประกอบด้วยข้อมูลต่อไปนี้

  1. ชื่อ-ที่อยู่ ผู้จ่ายเงิน
  2. วัน เดือน ปี ที่จ่ายเงิน
  3. ชื่อ-ที่อยู่ ผู้รับเงิน
  4. เลขประจำตัวผู้เสียภาษี 13 หลัก ของผู้รับเงิน
  5. รายละเอียด และจำนวนเงินที่จ่าย
  6. ลายเซนต์ผู้รับเงิน
  7. ลายเซนต์ผู้จ่ายเงิน

ใบสำคัญรับเงิน

   

ทางแก้ที่2: ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน

กิจการจัดทำ “ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน” และให้พนักงานของกิจการเป็นผู้รับรองการจ่ายเงิน

ทางแก้นี้เหมาะสำหรับรายจ่ายเบ็ดเตล็ด (คือรายจ่ายเล็กๆน้อยๆ ยอดเงินไม่สูง) ที่ไม่สามารถเรียกใบเสร็จรับเงินจากผู้ขายได้  

ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน ประกอบด้วยข้อมูลต่อไปนี้

  1. ชื่อ ผู้จ่ายเงิน (กิจการ)
  2. วัน เดือน ปี ที่จ่ายเงิน
  3. รายละเอียด และจำนวนเงินที่จ่าย
  4. ข้อความรับรองการจ่ายจริง
  5. ลายเซนตพนักงานผู้เบิก
  6. ลายเซนต์ผู้อนุมัติจ่าย

ใบรับรองแทนใบสำคัญรับเงิน

   

บิลเงินสดที่ไม่มีชื่อผู้รับ

บ่อยครั้งที่กิจการมักจะได้รับบิลเงินสดที่ไม่ระบุชื่อผู้รับเงิน และเขียนว่า “เงินสด” หรือ “สด” แทนที่จะเป็นชื่อผู้จ่ายเงิน

  • การไม่มีชื่อ-ที่อยู่ของผู้รับ =  พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ = ไม่สามารถนำมาเป็นรายจ่ายทางภาษีได้
  • การเขียนว่า “เงินสด” หรือ “สด” แทนที่จะเป็นชื่อผู้จ่ายเงิน = พิสูจน์ไม่ได้ว่ากิจการเป็นผู้จ่ายเงิน = ไม่สามารถนำมาเป็นรายจ่ายทางภาษีได้

   

จำเป็นต้องแนบบัตรประชาชนหรือไม่?

ในกรณีที่กิจการจัดทำ “ใบสำคัญรับเงิน” และให้ผู้รับเงินลงลายมือชื่อรับรองการรับเงิน ตามคู่มือการจัดทำเอกสารประกอบการลงบัญชีที่สามารถเป็นรายจ่ายได้ของกรมสรรพากร ได้ระบุให้แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับเงินซึ่งเป็นขายสินค้า/ให้บริการอย่างแท้จริงด้วย

   

ต้องการปรึกษานักบัญชี?

หากท่านยังไม่มีนักบัญชีคู่ใจ ท่านสามารถไปค้นหา สำนักงานบัญชี รับทำบัญชี กับ Accounting Center ได้

ขั้นตอนการค้นหา

  1. คลิกที่ลิงค์เพื่อไปหน้าค้นหา >> ค้นหา สำนักงานบัญชี รับทำบัญชี
  2. ระบุจังหวัด และเขต(เฉพาะกรุงเทพมหานคร)
  3. ระบุประเภทกิจการคุณในตัวกรองผลลัพธ์ เช่น ประเภทธุรกิจ, ประเภทนิติบุคคล เป็นต้น
  4. ติดต่อสำนักงานบัญชี และ ฟรีแลนซ์ รับทำบัญชี ที่โดนใจคุณได้โดยตรงเลย  ตามข้อมูลการติดต่อที่นักบัญชีให้ไว้

รับทำบัญชี สำนักงานบัญชี บริษัททำบัญชี จ้างทำบัญชี

Accounting Center เว็บไซต์รวมนักบัญชี สำนักงานบัญชี เพื่อให้ผู้ประกอบการค้นหานักบัญชีได้ง่ายๆ

   

-----

ที่มาข้อมูล:  กรมสรรพากร

เปิดสำนักงานบัญชี-หาลูกค้า-รับทำบัญชีที่บ้าน-การตลาดสำนักงานบัญชี

น้ำปลาตราชั่ง กะปิตราชั่ง น้ําปลายี่ห้อไหนดี

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

Preloader

กำลังประมวลผลข้อมูล กรุณารอสักครู่