คริปโต crypto - บิทคอย Bitcoin เสียภาษีอย่างไร

คริปโต crypto - บิทคอย Bitcoin เสียภาษีอย่างไร

สรุปมาให้แล้ว กับข้อกำหนดกฎหมายที่เกี่ยวกับ "สกุลเงินดิจิทัล" หรือที่รู้จักในชื่อว่า คริปโตเคอร์เรนซี (cryptocurrency) เช่น บิทคอย (Bitcoin), อีทีเรียม (Ethereum) เป็นต้น

  

เชื่อว่านักลงทุนคริปโตฯ ต่างพากันตั้งข้อสงสัยต่อกฎหมายที่เกี่ยวกับสกุลเงินดิจิทัลมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการให้ความคุ้มครองในการทำธุรกรรม ข้อกำหนดต่างๆ และล่าสุดได้เกิดประเด็นถกกันในเรื่องของ “ภาษี” ว่าตกลงแล้วหากเราลงทุนคริปโตฯ หรือสินทรัพย์ดิจิทัลเหล่านี้ จะต้องเสียภาษีแบบไหนอย่างไร?

  

ก่อนอื่นมาดูกันว่ามีกฎหมายข้อใดที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัลบ้าง

  • พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ประกาศกระทรวงการคลัง ที่ว่าด้วยเรื่องการกำกับดูแลและการบริหารจัดการสินทรัพย์ดิจิทัล รวมถึงข้อกำหนดและบทลงโทษต่างๆ
  • พระราชกําหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2561 ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของภาษี

  

ภาษีที่เกี่ยวข้องกับคริปโตฯ บิทคอย

1. ผลประโยชน์จากการถือครองคริปโตฯ ให้หักภาษี ณ ที่จ่าย 15%

กรณีมีการถือหรือครอบครองเหรียญคริปโตฯ หรือโทเคนดิจิทัล นักลงทุนผู้ถือหรือผู้ครอบครองมีสิทธิ์ได้รับส่วนแบ่งกำไร หรือผลประโยชน์อื่นใดในลักษณะเดียวกัน เงินได้ดังกล่าวจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 15% จากผลประโยชน์นั้นก่อนที่จะมีการจ่ายให้กับนักลงทุนที่เป็นผู้ถือหรือผู้ครอบครอง

  

2. กำไรจากการขายคริปโตฯ ให้หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 15%

กรณีมีกำไรจากการขาย (Capital Gain) ทางผู้ขายมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% จากกำไรที่เกิดขึ้นก่อนมีการจ่ายเงินให้นักลงทุน ตามเงินได้ 40(4)(ฌ), 50(2)/(ฉ) ประมวลรัษฎากร

  

โดยนักลงทุนยังคงต้องนำกำไรจากการขายคริปโตฯ มาคำนวณรวมกับเงินได้อื่นๆ เพื่อยื่นแบบเสียภาษีบุคคลธรรมดาตอนปลายปี และไม่สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ แม้ว่าจะมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นจริงก็ตาม เช่น ค่าเครื่องขุด, ค่าไฟฟ้า, ค่าเช่า เป็นต้น เนื่องจากการลงทุนในคริปโตฯ เป็นเงินได้ประเภทที่ 4 คือ เงินได้พึงประเมินในรูปของดอกเบี้ย และเงินปันผล รวมถึงรายได้ลักษณะเดียวกัน

  

อ้างอิงข้อมูลจาก: ฝ่ายค้นคว้าและเปรียบเทียบกฎหมาย กองกฎหมายต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

ที่มา: สถาบันอนุญาโตตุลาการ (Thailand Arbitration Center: THAC)

รับทำบัญชี สำนักงานบัญชี บริษัททำบัญชี จ้างทำบัญชี

รับทำบัญชี สำนักงานบัญชี ยื่นภาษี

ผู้สอบบัญชี CPA TA ผู้ตรวจสอบบัญชี บริษัทตรวจสอบบัญชี

รับตรวจสอบบัญชี ผู้สอบบัญชี CPA TA ผู้ตรวจสอบบัญชี

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

Preloader

กำลังประมวลผลข้อมูล กรุณารอสักครู่