สรุป! Timeline ยื่นงบการเงิน ยื่นภาษี 2566 - ปีนี้ "ไม่ต้อง" ลงประกาศหนังสือพิมพ์เชิญประชุมฯแล้ว *

สรุป! Timeline ยื่นงบการเงิน ยื่นภาษี 2566 - ปีนี้ "ไม่ต้อง" ลงประกาศหนังสือพิมพ์เชิญประชุมฯแล้ว *

ยื่นงบการเงิน 2566 ภายในวันไหน?  ยื่นภาษีบริษัท 2566 ภายในวันไหน?

กลับมาอีกครั้งสำหรับฤดูกาลปิดงบการเงิน ยื่นงบการเงิน และยื่นภาษี ประจำปี  นักบัญชีและเจ้าของกิจการอย่าลืมวงปฏิทิน deadline วันสุดท้าย ด้านล่างนี้กันไว้นะคะ  จะได้ไม่พลาดไม่โดนค่าปรับค่ะ

  

วันสุดท้ายสำหรับการยื่นงบการเงิน ยื่นภาษีบริษัท 2566

สำหรับ "บริษัทจำกัด" ที่มีวันสิ้นรอบปีบัญชี คือ 31 ธันวาคม 2565 จะต้องปิดงบการเงิน ยื่นงบการเงิน และยื่นภาษีบริษัทประจำปี ภายในวันสุดท้ายดังนี้

ยื่นงบการเงิน-ยื่นภาษี-2566-วันสุดท้าย-กำหนดการ

    

ปี 2566 "ไม่ต้อง" ลงประกาศหนังสือพิมพ์เชิญประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นแล้ว * !

[ UPDATE ! ] * ตั้งแต่วันที่ 7 ก.พ. 2566 สำหรับบริษัทที่ไม่มีการออกหุ้นชนิดที่มีใบหุ้นออกให้แก่ผู้ถือ ไม่ต้องลงประกาศหนังสือพิมพ์เรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นแล้วค่ะ !!!!!

เนื่องจากมีการแก้ไข พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 23) พ.ศ. 2565 มาตรา 1175 ส่งผลให้ สำหรับบริษัทจำกัดทั่วไปที่ไม่มีการออกหุ้นชนิดที่มีใบหุ้นออกให้แก่ผู้ถือ กฎหมายบังคับให้เรียกประชุมใหญ่โดยส่งทางไปรษณีย์ตอบรับ ไปยังผู้ถือหุ้นทุกคนที่มีชื่อในทะเบียนของบริษัท ก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน  กล่าวคือ ไม่ได้บังคับให้ต้องเรียกประชุมผ่านการลงโฆษณาประกาศในหนังสือพิมพ์ด้วย อีกต่อไปค่ะ  

  

** แต่หากบริษัทมีการออกหุ้นชนิดที่มีใบหุ้นออกให้แก่ผู้ถือ หรือ มีข้อบังคับกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ  ยังต้องลงประกาศโฆษณาหนังสือพิมพ์ฯเชิญประชุม อยู่นะคะ

  

สำหรับบริษัทที่มีข้อบังคับ กำหนดให้การบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นจะต้องลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ด้วย  หากบริษัทไม่ต้องการลงประกาศหนังสือพิมพ์เชิญประชุมฯอีกต่อไป จะต้องแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับดังกล่าว 

ปี2566 ไม่ต้องลงประกาศหนังสือพิมพ์เชิญประชุมผู้ถือหุ้นแล้ว

จากการพิจารณา คำชี้แจงของกรมพัฒน์ฯ พบว่า ไม่มีการกล่าวถึง กรณีที่บริษัทไม่ได้จัดทำใบหุ้น  แอดมินคิดว่าเป็นเพราะตามกฎหมายนั้น การไม่จัดทำใบหุ้นถือว่าทำผิดค่ะ  ต้องระวังโทษปรับสูงถึง 10,000 บาท !!

   

การจากศึกษาของแอดมิน  แอดมินยังไม่พบข้อกฎหมายใดที่อนุญาตให้การลงประกาศหนังสือพิมพ์เชิญประชุมสามารถทดแทนการออกใบหุ้นได้  ดังนั้น สำหรับบริษัทที่ไม่มีการจัดทำใบหุ้น  การลงประกาศหนังสือพิมพ์เชิญประชุม ไม่ได้ช่วยลดโทษปรับสูงสุด 10,000 บาท ของการไม่จัดทำใบหุ้น  ฉะนั้น แนะนำให้จัดทำใบหุ้นให้ถูกต้องจะดีกว่า   (ปล. หากท่านใดพบข้อกฎหมายที่อนุญาตให้ทดแทนกันได้  ชี้แนะมาตรามาได้ค่ะ)  

  

อ้างอิง 

" มาตรา ๑๑๗๕ คำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ให้ส่งทางไปรษณีย์ตอบรับไปยังผู้ถือหุ้นทุกคนที่มีชื่อในทะเบียนของบริษัทก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน แต่ในกรณีที่บริษัทมีหุ้นชนิดที่มีใบหุ้นออกให้แก่ผู้ถือ ให้โฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อยหนึ่งครั้งหรือในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดวันด้วย หากเป็นคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่เพื่อลงมติพิเศษให้กระทำการดังกล่าว ก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่าสิบสี่วัน "

    

" มาตรา ๘ บริษัทจำกัดใดไม่ทำใบหุ้นมอบให้เป็นคู่มือแก่ผู้ถือหุ้น หรือเรียกค่าธรรมเนียมเกินกว่าที่กำหนดไว้ตามมาตรา ๑๑๒๗ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือไม่ทำใบหุ้นตามมาตรา ๑๑๒๘ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท "

   

ใบหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือ คืออะไร?

ใบหุ้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  1. ใบหุ้นชนิดระบุชื่อ คือ ใบหุ้นชนิดที่ระบุชื่อผู้ถือหุ้นไว้บนใบหุ้น
  2. ใบหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือ คือใบหุ้นชนิดที่ไม่ระบุชื่อผู้ถือหุ้น แต่จะระบุในใบหุ้นนั้นว่าเป็นหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือ ซึ่งหุ้นชนิดนี้จะออกได้ก็ต่อเมื่อมีข้อบังคับของบริษัทอนุญาตไว้ และจะออกให้ได้แต่เฉพาะเพื่อหุ้นซึ่งได้ใช้เต็มค่าแล้ว (มาตรา 1134) 

กล่าวคือ

  • บริษัทจำกัดโดยทั่วไปจะออกใบหุ้นชนิดระบุชื่อ  
  • แต่หากต้องการออกใบหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือ จะต้องมีการจดข้อบังคับของบริษัทอนุญาตไว้ และต้องเป็นหุ้นที่ชำระค่าหุ้นเต็มจำนวนแล้ว จึงจะให้สามารถออกใบหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือได้

    

ใบหุ้นประกอบไปด้วยอะไรบ้าง?

ใบหุ้นทุกๆ ใบ  ให้กรรมการลงลายมือชื่อเองคนหนึ่งเป็นอย่างน้อย และประทับตราของบริษัทเป็นสำคัญ

ในใบหุ้นนั้นต้องมีข้อความต่อไปนี้ คือ

  1. ชื่อบริษัท และประทับตราบริษัท
  2. เลขหมายหุ้น ที่กล่าวถึงในใบหุ้นนั้น
  3. มูลค่าหุ้นหนึ่งเป็นเงินใด
  4. ถ้าเป็นหุ้นที่ยังไม่ได้ใช้เงินเสร็จ ให้จดลงว่าได้ใช้เงินค่าหุ้นแล้ว หุ้นละเท่าใด
  5. ชื่อผู้ถือหุ้น หรือ คำแถลงว่าได้ออกใบหุ้นนั้นให้แก่ผู้ถือ

   

น้ำปลาตราชั่ง กะปิตราชั่ง น้ําปลายี่ห้อไหนอร่อย กะปิยี่ห้อไหนอร่อย

   

  

ยังไม่มีนักบัญชีปิดงบการเงิน?

หาผู้ทำบัญชี-สำนักงานบัญชี รับทำบัญชี ปิดงบการเงิน ยื่นภาษี ใกล้คุณได้ง่ายๆที่ลิงค์นี้เลย

รับทำบัญชี สำนักงานบัญชี ยื่นภาษี

   

ยังไม่มีผู้สอบบัญชี ตรวจงบประจำปี?

หาผู้สอบบัญชี CPA TA ตรวจสอบงบการเงิน ใกล้คุณได้ง่ายๆที่ลิงค์นี้เลย

รับตรวจสอบบัญชี ผู้สอบบัญชี CPA TA ผู้ตรวจสอบบัญชี

  

น้ำปลาตราชั่ง กะปิตราชั่ง น้ําปลายี่ห้อไหนดี กะปิยี่ห้อไหนดี

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

Preloader

กำลังประมวลผลข้อมูล กรุณารอสักครู่