มัดรวมสิทธิประโยชน์จากประกันสังคม ที่คุณต้องรู้!! จะได้ไม่พลาดใช้สิทธิ
จ่ายเงินสมทบประกันสังคมทุกเดือน รู้หรือไม่ว่าประกันสังคมมีสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง?
Accounting Center รวบรวมสิทธิประโยชน์จากประกันสังคมมาให้ในโพสต์นี้แล้วค่ะ ไปดูกันเลย!
กองทุนประกันสังคม
คือกองทุนที่ให้หลักประกันแก่ผู้ประกันตน ให้ได้รับประโยชน์ทดแทน เมื่อต้องประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพลภาพ หรือตาย ซึ่งไม่เนื่องจากการทำงาน รวมทั้งกรณีคลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน ดังนี้
1. กรณีเจ็บป่วย หรือ ประสบอันตราย (ไม่เนื่องจากการทำงาน)
ผู้ประกันตนต้องนำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนวันรับบริการทางการแพทย์
- ได้รับการรักษาพยาบาล โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เมื่อเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลบัตรรับรองสิทธิฯ
- ได้รับเงินทดแทนขาดรายได้ ร้อยละ 50 ของค่าใช้จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยได้รับครั้งละไม่เกิน 90 วัน แต่ไม่เกิน 180 วัน เว้นแต่โรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน
กรณีทันตกรรม
- กรณีถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และผ่าตัดฟันคุด ใช้สิทธิได้ ไม่เกิน 900 บาทต่อปี
-
กรณีใส่ฟันปลอมชนิดถอดได้บางส่วน
-
จำนวน 1-5 ซี่ เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง ในวงเงินไม่เกิน 1,300 บาท
-
จำนวนมากกว่า 5 ซี่ เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง ในวงเงินไม่เกิน1,500 บาท
-
-
กรณีใส่ฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งปาก
-
ฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งปากบนหรือล่าง เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง ในวงเงินไม่เกิน 2,400 บาท (ภายในระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ใส่ฟันเทียม)
-
ฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งปากบนและล่าง เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง ในวงเงินไม่เกิน 4,400 บาท (ภายในระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ใส่ฟันเทียม)
-
2. กรณีคลอดบุตร
ผู้ประกันตนต้องนำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนวันคลอดบุตร
- ค่าฝากครรภ์ จำนวน 1,500 บาท
ผู้ประกันตนหญิง
- ได้รับค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย 15,000 บาท โดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง
- เงินสงเคราะห์บุตรการหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย 9 วันไม่เกิน 2 ครั้ง
ผู้ประกันตนชาย
- ได้รับเฉพาะค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายจำนวน 15,000 บาทโดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง
⚡️ ในกรณีที่ทั้งพ่อและแม่เป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ จะสามารถเบิกได้แค่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้นต่อบุตร 1 คน
💬 หากใช้สิทธิของแม่ที่เป็นผู้ประกันตน จะได้รับสิทธิเพิ่มในส่วนของเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายใน อัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน โดยใช้สิทธิได้ 2 ครั้ง
3. กรณีสงเคราะห์บุตร
ผู้ประกันตนต้องนำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนภายในระนะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิ์ได้รับประโยชน์ทดแทน
- ได้รับเงินสงเคราะห์บุตร เหมาจ่าย เดือนละ 800 บาท ต่อบุตร 1 คน คราวละไม่เกิน 3 คน
-
ต้องเป็นบุครโดยชอบด้วยกฎหมาย (ยกเว้นบุตรบุญธรรม) อายุแรกเกิด ถึง 6 ปีบริบูรณ์
- พ่อ / แม่ เลือกใช้สิทธิได้ 1 สิทธิ
⚡️ ในกรณีที่ทั้งพ่อและแม่เป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ จะสามารถเบิกได้แค่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้นต่อบุตร 1 คน
4. กรณีทุพลภาพ (ไม่เนื่องจากการทำงาน)
ผู้ประกันตนต้องนำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนทุพพลภาพอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน
- รักษาพยาบาลในโรงพยาบาลของรัฐ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
- รักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชน ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
กรณีทุพลภาพระดับความสูญเสียไม่รุนแรง
(ประเมินการสูญเสีย ตั้งแต่ร้อยละ 35 ขึ้นไปแต่ไม่ถึงร้อยละ 50)
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างรายวันตลอดระยะที่ไม่สามารถทำงานได้ ไม่เกิน 180 เดือน
กรณีทุพลภาพระดับความสูญเสียรุนแรง
(ประเมินการสูญเสีย ตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป)
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายวัน ตลอดชีวิต
5. กรณีการตาย
ผู้ประกันตนต้องนำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 เดือนภายในระยะเวลา 6 เดือนก่อนถึงแก่ความตาย
- ได้รับค่าทำศพ 50,000 บาท
- ได้รับเงินสงเคราะห์กรณีตายดังนี้
- จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 36 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 120 เดือน >> รับเงินสงเคราะห์ในอัตราร้อย 50 ของค่าเฉลี่ย 4 เดือน
- จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 120 เดือนขึ้นไป >> รับเงินสงเคราะห์ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าเฉลี่ย 12 เดือน
6.กรณีชราภาพ
เงินบำนาญชราภาพ (จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน)
- ได้รับเงินชราภาพ ร้อยละ 20 ของค่าเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่ใช้เป็นหลักฐานในการคำนวนเงินสมทบก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
- ถ้าจ่ายเงินสมทบมากกว่า 180 เดือนให้ปรับเพิ่มอัตราเพิ่มเงินบำนานชราภาพ ขึ้นอีกร้อยละ 1.5 ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบทุก 12 เดือน
เงินบำเหน็จชราภาพ (จ่ายเงินสมทบไม่ถึง 180 เดือน)
- จ่ายเงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน >> ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบเฉพาะส่วนของผู้ประกันตน
- จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป >> ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนและนายจ้างจ่ายสมทบ พร้อมผลประโยชน์ทดแทน
7.กรณีว่างงาน
ผู้ประกันตนต้องนำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือนภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน
ถูกเลิกจ้าง
- ได้รับเงินทดแทนในระหว่างการว่างงานในอัตร่าร้อยละ 50 ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 180 วัน
ลาออก / สิ้นสุดสัญญาจ้าง
- ได้รับเงินทดแทนในระหว่างการว่างงานในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วัน
ผู้ประกันตนต้องขึ้นทะเบียนและรายงานตัวกรณีว่างงานผ่านระบบ https://e-service.doe.go.th ภายใน 2 ปีนับแต่วันที่ถูกเลิกจ้างหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง และรายงานตัวตามกำหนดนัดเพื่อมิให้เสียสิทธิ์ในการรับเงินทดแทน
กองเงินทดแทน
เป็นกองทุนตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537 จัดเงินสมทบจากนายจ้างฝ่ายเดียว ตามประเภทความเสี่ยงของการจัดการเพื่อนำไปจ่ายทดแทนให้แก่ลูกจ้าง กรณีประสบอันตราย เจ็บป่วย/สูญเสียสมรรภาพ/ทุพลภาพ/ตาย/หรือสูญหาย เนื่องจากการทำงาน
คุ้มครองทันทีตั้งแต่วันแรกที่เข้าทำงานให้นายจ้าง
เมื่อลูกจ้างประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย เนื่องจากการทำงาน
- กรณีไม่สามารถทำงานได้ตั้งแต่วันแรก
- กรณีทุพพลภาพ (ตลอดชีวิต)
- กรณีสูญเสียสมรรภาพในการทำงานของร่างกายไม่เกิน 10 ปี
- กรณีทุพพลภาพ (ตลอดชีวิต)
- กรณีตาย/สูญหาย (10ปี)
จะได้อะไรบ้าง
- ค่ารักษาพยาบาลจนสิ้นสุดการรักษา ในสภานพยาบาลของรัฐ
- ค่าทำศพจำนวน 50,000 บาท
- ค่าทดแทนรายเดือน เมื่อลูกจ้างมีการหยุดงาน สูญเสียสมรรภาพ ทุพพลภาพ ตายหรือสูญหาย จะได้ค่าทดแทน ร้อยละ 70 ของค่าจ้างรายเดือน
สอบถามเพิ่มเติม
ติดต่อสำนักงานประกันสังคมได้ที่ www.sso.go.th หรือ
โทรสายด่วน 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง