รู้หรือไม่ นายจ้างต้องหักเงินเดือนลูกจ้างที่ติดหนี้ กยศ. ส่งสรรพากร (e-Pay SLF)

รู้หรือไม่ นายจ้างต้องหักเงินเดือนลูกจ้างที่ติดหนี้ กยศ. ส่งสรรพากร (e-Pay SLF)

นายจ้างที่มีลูกจ้างติดหนี้ กยศ. ต้องทำอย่างไร?

ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2564 เป็นต้นไป นายจ้างที่มีพนักงานหรือลูกจ้างที่เป็นหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) จะมีหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ.2560 ซึ่งกำหนดให้องค์กรนายจ้างมีหน้าที่หักเงินได้ที่มาจากการจ้างแรงงานของพนักงานและลูกจ้างที่เป็นผู้กู้ยืมนำส่งกรมสรรพากร พร้อมกับการนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เพื่อชำระหนี้กองทุนกยศ.

  

เนื่องจากตามมาตรา 51 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึก พ.ศ.2560 ได้บัญญัติว่า "ให้บุคคล คณะบุคคล หรือ นิติบุคคลทั้งภาครัฐและเอกชน ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักเงินได้พึงประเมินของผู้กู้ยืมเงินซึ่งเป็นพนักงาน หรือลูกจ้างของผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินดังกล่าว"

   

การชำระหนี้กยศโดยการหักเงินเดือน

นายจ้างหักเงินเดือนชำระเงินกู้ยืมกยศ    

นายจ้างที่ไม่หักเงินเดือนลูกจ้างที่ติดหนี้ กยศ. จะมีโทษอย่างไร?

นายจ้างจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้ขั้นตอนการนำส่งเงินกู้ยืมกยศ. เนื่องจากหากไม่ได้หักเงินเดือน / หักแต่ไม่ได้นำส่ง / นำส่งแต่ไม่ครบตามจำนวนที่กองทุนแจ้งให้ทราบ / นำส่งเกินกำหนดระยะเวลา นายจ้างจะต้องรับผิดชดใช้เงินที่ต้องนำส่งในส่วนของผู้กู้ยืมเงินตามจำนวนที่กองทุนแจ้งให้ทราบ และจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน ของจำนวนเงินที่ยังไม่ได้นำส่ง หรือตามจำนวนที่ยังขาดไป แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ นับแต่วันถัดจากวันที่ครบกำหนดต้องนำส่ง

  

หากนายจ้างได้หักเงินเดือนของผู้กู้ยืมเงินไว้แล้ว ให้ถือว่าผู้กู้ยืมเงินใด้ชำระเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาตามจำนวนที่ได้หักไว้แล้ว 

นายจ้างไม่หักเงินเดือนส่งกยศ ต้องเสียเงินเพิ่ม ร้อยละ2

รับทำบัญชี สำนักงานบัญชี บริษัททำบัญชี จ้างทำบัญชี

ผู้สอบบัญชี CPA TA ผู้ตรวจสอบบัญชี บริษัทตรวจสอบบัญชี

   

นายจ้างมีขั้นตอนการนำส่งเงินกู้ยืม กยศ.อย่างไร?

กยศ. ตรวจสอบข้อมูลผู้กู้ยืมเงินจากผู้ถือครองข้อมูล คือ สำนักงานประกันสังคม/กรมสรรพากร โดยจะแจ้งข้อมูลให้นายจ้างทราบเป็นหนังสือ สำหรับครั้งต่อไปจะแจ้งในระบบชำระเงินกู้คืนกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาผ่านกรมสพากร (e-Pay SLF) นายจ่างมีขึ้นตอนที่ต้องดำเนินการ ดังนี้

1. สมัครขอใช้ระบบ e-Pay SLF

  1. สมัครสมาชิกยื่นภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ภ.อ.01 ของกรมสรรพากร (e-Filling) เพื่อลงทะเบียนยื่นภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Fillng)
  2. เพิ่มรายการ “นำส่งเงินกู้ยืมคืน กยศ. ” ภ.อ.02 (กรณีเป็นสมาชิก e-Filling อยู่แล้วให้ดำเนินการในขั้นตอนนี้ได้เลย)

2.ขั้นตอนการนำส่งเงินกู้ยืมคืน กยศ.

  1. เข้าสู่ระบบ e-Pay Slf เพื่อรับข้อมูลรายชื่อและจำนวนเงินที่ต้องหักจากระบบ
  2. บันทึกรายการและจำนวนเงินที่หักได้เข้าสู่ระบบ
  3. พิมพ์ชุดชำระ (Pay in slip)  และนำไปชำระตามช่องทางที่กำหนด
  4. เมื่อหักเงินแล้วให้นำส่งภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

นายจ้างส่งเงินกองกุน กยศ อย่างไร

  

วิธีการใช้งานระบบ e-Pay SLF

ทางเว็บไซต์ของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ได้จัดทำคลิปวีดีโอแนะนำการใช้งานระบบ e-Pay SLF สามารถเข้าไปชมได้ตามลิงค์นี้ได้เลยค่ะ

VDO แนะนำการใช้งานระบบ e-PaySLF

  

หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการหักเงินเดือนเพื่อชำระเงินกู้ยืมฯ หรือการใช้งานระบบ e-PaySLF ได้ที่ช่องทางด้านล่างนี้

  

ติดต่อกยศ สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับระบบชำระเงินกู้ยืมกยศ

   

ค้นหา สำนักงานบัญชี รับทำบัญชี ยื่นภาษี ใกล้ฉัน

ค้นหา ผู้สอบบัญชี ผู้ตรวจสอบบัญชี CPA TA บริษัทตรวจสอบบัญชี ใกล้ฉัน

  

น้ำปลาตราชั่ง กะปิตราชั่ง น้ําปลายี่ห้อไหนอร่อย กะปิยี่ห้อไหนอร่อย

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

Preloader

กำลังประมวลผลข้อมูล กรุณารอสักครู่