มาลองจัดทำงบกระแสเงินสด

มาลองจัดทำงบกระแสเงินสด

จากครั้งก่อนได้พูดถึง งบกระแสเงินสด ว่าประโยชน์ของมันคืออะไร การวิเคราะห์เป็นอย่างไร วันนี้จะลองอธิบายเรื่องที่เข้าใจยากในการจัดทำงบกระแสเงินสดให้ง่ายขึ้นกันนะ เริ่มจาก งบกระแสเงินสดวิธีทางอ้อม
 แต่ขอแทรกก่อนนะ งบกระแสเงินสด ประกอบด้วย กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน และ กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน 
ซึ่งเราต้องทำงบกระแสเงินสด เรียงตามลำดับ เริ่มจาก

** กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานก่อน (ตัวนี้ สำคัญนะ ยิ่งมีกระแสเป็นบวก ยิ่งดีเลย ) 
1. ตั้งต้นจาก กำไรสุทธิทางบัญชี ตัวนี้ หยิบมาจากงบกำไรขาดทุน ได้เลย 
2. ให้เราบวก รายการที่ไม่ใช่เงินสด ลักษณะของมันเป็นอย่างไรนะหรือ หากเราคิดถึงรายการค้า เราจะเข้าใจง่ายขึ้น 
รายการที่ไม่ใช่เงินสด เช่น 
ค่าเสื่อมราคา เวลาเราบันทึกบัญชี 
 Dr ค่าเสื่อมราคา (อยู่ในงบกำไรขาดทุน) 
 Cr ค่าเสื่อมราคาสะสม (อยู่ในงบแสดงฐานะการเงิน ) 
เห็นไหม ไม่มีรายการใดที่ กระทบเงินสด นี่ละที่เขาเรียกว่า รายการที่ไม่ใช่เงินสด 
หนี้สงสัยจะสูญ (ชื่อใหม่ ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น) การบันทึกบัญชี 
Dr หนี้สงสัยจะสูญ (อยู่ในงบกำไรขาดทุน) 
 Cr ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (อยู่ในงบแสดงฐานะการเงิน) 
3. ให้เรา บวก(หัก) รายการที่ไม่เกี่ยวกับกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน แล้วมันคืออะไรบ้างละ ( 555 ก็เป็นรายการที่เกี่ยวกับกิจกรรมลงทุนและจัดหาเงิน ) เกริ่นแบบนี้ว่า เราต้องอย่าลืมว่า ตัวตั้งต้นมาจาก กำไรสุทธิ ซึ่งมันจะประกอบด้วย รายได้ และ ค่าใช้จ่าย ซึ่ง รายได้ก็จะมีทั้ง รายได้จากการขาย รายได้บริการ ดอกเบี้ยรับ กำไร(ขาดทุน)จากการขายทรัพย์สิน กำไร(ขาดทุน)จากการขายเงินลงทุน ซึ่ง กำไร(ขาดทุน)จากการขายทรัพย์สินหรือ กำไร(ขาดทุน)จากการขายเงินลงทุน ไม่ใช่กิจกรรมหลักของกิจการ แต่เป็นกิจกรรมลงทุน 
4. จากนั้นก็หรรษาละ(มันเยอะ ตอนทำก็ใช้เครื่องมือช่วยเอานะ) ให้เรานำสินทรัพย์ดำเนินงาน(เพิ่มขึ้น)ลดลง 
และหนี้สินดำเนินงาน เพิ่มขึ้น(ลดลง) มา บวก(หัก) ต่อจากข้อ 3 นะ 
5. ต้นทุนทางการเงิน ภาษีเงินได้ ให้แยกแสดงออกมา ดังนั้น ตัวนี้ เราต้องบวกคืนไปก่อนนะ แล้วแสดงออกมา เป็นเงิสดจ่ายดอกเบี้ย และเงินสดจ่ายภาษีเงินได้ 


** กิจกรรมลงทุน 
ถ้าเราพูดถึงกิจกรรมลงทุน คุณว่าจะสัมพันธ์กับในงบแสดงฐานะการเงินบัญชีอะไรกันบ้างคะ 
เฉลยดีกว่า บัญชีที่กระทบกับกิจกรรมนี้คือ หมวดสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ประกอบด้วย ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน เงินลงทุนระยะยาว ยกตัวอย่างเช่น 
เงินสดจ่ายซื้อที่ดิน เราลองมาดูการบันทึกบัญชีนะ 
Dr ที่ดิน 
 Cr เงินสด/เงินฝากธนาคาร (เราใช้ยอดนี้นะไปแสดงในงบกระแสเงินสด) 
แต่หาก ไม่ใช่ Cr เงินสด แต่เป็นเงินกู้ธนาคารละ เราจะทำไงกันดี เพราะไม่ได้เกี่ยวกับเงินสด ให้เราใช้การเปิดเผยหมายเหตุเพิ่มเติมแทนคะ 
เช่น กิจการซื้อที่ดิน โดยการกู้เงินจากธนาคาร เป็นจำนวนเงิน xx บาท 
เงินสดรับจากการขายที่ดิน การบันทึกบัญชี 
Dr เงินสด /เงินฝากธนาคาร (เราใช้ยอดนี้ไปแสดงในงบกระแสเงินสด)
 Cr ที่ดิน 
 กำไรจากการขายที่ดิน 

** กิจกรรมจัดหาเงิน 
บัญชีที่กระทบกับกิจกรรมนี้คือ หมวดหนี้สินไม่หมุนเวียนและส่วนของผู้ถือหุ้น ประกอบด้วย เงินกู้ยืมจากธนาคาร/หนี้สินตามสัญญาเช่า การจ่ายหุ้นกู้ จ่ายเงินปันผล ยกตัวอย่างเช่น 
เงินสดรับจากการกู้ธนาคาร 
Dr เงินสด/เงินฝากธนาคาร (เราใช้ยอดนี้ไปแสดงในงบกระแสเงินสด) 
 Cr เงินกู้ยืมจากธนาคาร
เงินสดจ่ายชำระหนี้ธนาคาร 
Dr เงินกู้ธนาคาร (เงินต้น) 
 ดอกเบี้ยจ่าย 
 Cr เงินสด/เงินฝากธนาคาร (เราใช้ยอดนี้ไปแสดงในงบกระแสเงินสด) 
เงินสดจ่ายเงินปันผล 
Dr กำไรสะสม 
 Cr เงินสด/เงินฝากธนาคาร (เราใช้ยอดนี้ไปแสดงในงบกระแสเงินสด) 
 ภาษีหัก ณ ที่จ่ายค้างจ่าย 

เป็นไงกันบ้างคะ ทั้ง 3 กิจกรรม ทำให้เราสามารถทำงบกระแสเงินสดกันได้บ้างหรือไม่

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

Preloader

กำลังประมวลผลข้อมูล กรุณารอสักครู่