ผู้สอบบัญชีคือใคร? CPA vs TA ต่างกันอย่างไร?
หน้าที่หนึ่งที่นิติบุคคลต้องทำทุกปีคือ จัดให้มี "ผู้สอบบัญชี" ตรวจสอบและรับรองงบการเงินของนิติบุคคล
วันนี้เราจะมาทำความรู้จักผู้สอบบัญชีกันค่ะ
ผู้สอบบัญชีคือใคร?
ผู้สอบบัญชี คือ บุคลภายนอกที่มีใบอนุญาตและเป็นอิสระจากกิจการ มีหน้าที่ตรวจสอบและรับรองว่างบการเงินของกิจการแสดงข้อมูลที่ถูกต้องตามควร โดยการที่จะได้รับใบอนุญาตผู้สอบบัญชี บุคคลนั้นจะต้องผ่านการทดสอบและจะต้องมีชั่วโมงฝึกงานตามที่สภาวิชาชีพบัญชีหรือกรมสรรพากรกำหนด
นอกจากนี้ผู้สอบบัญชียังช่วยให้คำแนะนำเกี่ยวกับจุดอ่อนการควบคุมภายในของกิจการที่พบระหว่างการตรวจสอบให้แก่ผู้บริหารหรือเจ้าของกิจการได้อีกด้วย
ผู้สอบบัญชี มีกี่ประเภท?
ใบอนุญาตผู้สอบบัญชีมี 2 ประเภท ได้แก่
- ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA : Certified Public Accountant) คือ ผู้ที่ขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตจากสภาวิชาชีพบัญชี ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพพ.ศ.2547 มีสิทธิในการตรวจสอบและรับรองบัญชีของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ทุกขนาด ทุกประเภท (ไม่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์)
- ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA : Tax Audittor) คือ ผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตจากอธิบดีกรมสรรพากร มีสิทธิในการตรวจสอบและรับรองบัญชีเฉพาะห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก (ทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน30 ล้านบาท และรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท)
ประภทผู้สอบบัญชี | สิทธิในการตรวจสอบและรับรองบัญชี |
ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) | บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ทุกขนาด ทุกประเภท (ไม่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์) |
ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA) | เฉพาะห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน30 ล้านบาท และรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท |
ดังนั้นกิจการจะต้องคำนึงถึง "ประเภทและขนาด" ของกิจการในการเลือกผู้สอบบัญชี
โดยหากเป็น "บริษัทจำกัด" งบการเงินจะต้องถูกรับรองโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) เท่านั้น
หน้าที่ของผู้สอบบัญชี คืออะไร?
ผู้สอบบัญชีมีหน้าที่ดังนี้
- ตรวจสอบและรับรองบัญชี โดยปฏิบัติงานตามแนวทางที่สภาวิชาชีพบัญชี หรือ กรมสรรพากร กำหนด
- จัดทำรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต หรือ รายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี เพื่อรายงานผลการตรวจสอบ
บริษัทจำเป็นต้องมีผู้สอบบัญชีหรือไม่?
จำเป็นอย่างยิ่งค่ะ เพราะกฎหมายกำหนดให้นิติบุคคลเหล่านี้ ต้องจัดให้มีผู้สอบบัญชีตรวจสอบงบการเงินของตนก่อนจะนำส่งหรือใช้ยื่นเสียภาษีประจำปี
- ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล และห้างหุ้นส่วนจำกัด
- บริษัทจำกัด
- บริษัทมหาชนจำกัด
- นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่าง ประเทศประกอบธุรกิจในไทย
- กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
- มูลนิธิ สมาคม
- นิติบุคคลอาคารชุดหรือหมู่บ้านจัดสรร
รู้หรือไม่? - การไม่จัดให้มีผู้สอบบัญชี นิติบุคคลและผู้แทนต้อง ระวังโทษ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท!!
นอกจาก นี้การไม่นำส่งงบการเงิน หรือไม่ยื่นเสียภาษี ก็จะมีโทษ ปรับอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย อาทิเช่น
- ไม่ทำบัญชี: ระวังโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท และวันละไม่เกิน 1,000 บาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
- ไม่จัดให้มีผู้ทำบัญชี: ระวังโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
- ไม่จัดทำ/ไม่ยื่นงบการเงิน: ระวังโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท
หาผู้สอบบัญชีได้จากที่ไหน?
ถ้ายังปวดหัวไม่รู้จะหาผู้สอบบัญชีจากที่ไหน เชิญค้นหาที่ Accounting Center ได้ง่ายๆ เรารวบรวมผู้สอบบัญชีทั้ง CPA และ TA พร้อมรับสอบบัญชี มากมายมาให้คุณเลือกสรร
ขั้นตอนการค้นหาผู้สอบบัญชี
- คลิกที่นี่! เพื่อค้นหาผู้สอบบัญชี CPA, TA
- ระบุจังหวัด และเขต(เฉพาะกรุงเทพมหานคร)
- ระบุประเภทกิจการคุณในตัวกรองผลลัพธ์ เช่น ประเภทธุรกิจ, ประเภทนิติบุคคล, ยอดรายได้ เป็นต้น
- ติดต่อผู้สอบบัญชีที่โดนใจคุณได้โดยตรง ตามข้อมูลการติดต่อที่ผู้สอบบัญชีแจ้งไว้ได้เลย
ตรวจสอบรายชื่อผู้สอบบัญชีได้จากที่ไหน? เป็นผู้สอบบัญชีจริงหรือไม่?
ก่อนจะตกลงว่าจ้างผู้สอบบัญชี อย่าลืม! ตรวจสอบรายชื่อและสถานะใบอนุญาตผู้สอบบัญชี เพื่อให้มั่นใจว่าบุคคลท่านนั้นเป็นผู้สอบบัญชีจริงและยังมีสิทธิลงลายมือชื่อ โดยสามารถตรวจสอบได้ตามลิงค์ด้านล่างนี้
- ตรวจสอบรายชื่อและสถานะผู้สอบบัญชีรับอนุญาต CPA ได้ที่ สภาวิชาชีพบัญชี คลิก!
- ตรวจสอบรายชื่อและสถานะผู้สอบบัญชีภาษีอากร TA ได้ที่ กรมสรรพากร คลิก!
------
ที่มาข้อมูล: กรมสรรพากร