สรุป เงินชดเชยเยียวยาล็อคดาวน์ประกันสังคม
บทความนี้ จะเป็นการรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์จากประกันสังคม หากมีข้อมูลอัพเดตใดเพิ่มเติม Accounting Center จะนำมาอัพเดตให้นะคะ
เมื่อวันที่ 13 ก.ค. ครม.เห็นชอบมาตรการเยียวยาโดยมีรายละเอียดดังนี้
ใครบ้างได้รับเงินชดเชยเยียวยาล็อคดาวน์
ต้องอยู่ใน 10 จังหวัดสีแดงเข้ม คือ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรปราการ นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลา
ธุรกิจที่ได้รับเงินชดเชย ได้แก่
- 9 หมวดกิจการ ประกอบด้วย
- 1) ก่อสร้าง
- 2) ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร
- 3) ศิลปะ บันเทิงและนันทนาการ
- 4) กิจกรรมการบริการด้านอื่น ๆ
- 5) ขายส่งขายปลีกและซ่อมยานยนต์
- 6) ขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า
- 7) กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน
- กิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์ และกิจกรรมทางวิชาการ
- 9) ข้อมูลข่าวสารและสื่อสาร
- 5 กิจการของถุงเงิน ประกอบด้วย
- 1) ร้านอาหารและเครื่องดื่ม
- 2) ร้าน OTOP
- 3) ร้านค้าทั่วไป
- 4) ร้านค้าบริการ
- 5) กิจการขนส่งสาธารณะ (ไม่รวมกิจการขนาดใหญ่)
ต้องขึ้นทะเบียนอยู่ในระบบประกันสังคม
หากยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน ให้ขึ้นทะเบียนภายในเดือน ก.ค. นี้ เพื่อรับเงินช่วยเหลือ
ที่มารูปภาพ: https://www.pptvhd36.com/news/เศรษฐกิจ/151681
รายละเอียดเงินชดเชยเยียวยาล็อคดาวน์
มาตรา 33
- นายจ้าง
- ได้รับเงินตามจำนวนลูกจ้าง 3,000 บาทต่อคน สูงสุดไม่เกิน 200 คน
- ตรวจสอบสิทธิ โครงการเยียวยานายจ้าง ได้ที่นี่
- ลูกจ้าง
- สัญชาติไทย ได้รับเงิน 2,500 บาทต่อคน
- และได้รับเงินเยียวยา 50% ของรายได้ (สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท)
- ตรวจสอบสิทธิ โครงการเยียวยาผู้ประกันตนมาตรา 33 ได้ที่นี่
ผู้ประกอบการที่มีลูกจ้าง แต่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม ให้ขึ้นทะเบียนตาม มาตรา 33 ภายในเดือน ก.ค. 64 เพื่อรับเงินช่วยเหลือ
มาตรา 39 (เคยอยู่มาตรา 33 ต่อมานำส่งประกันสังคมเอง)
- ได้รับเงินช่วยเหลือ 5,000 บาทต่อคน
มาตรา 40 (อาชีพอิสระ ฟรีแลนซ์ ค้าขาย ไม่มีลูกจ้าง)
- ได้รับเงินช่วยเหลือ 5,000 บาทต่อคน
- ผู้ประกอบการที่ไม่มีลูกจ้าง หรือ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ (freelance) ให้ลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ได้ที่ https://www.sso.go.th/section40_regist/ ภายในเดือน ก.ค. 64 จะได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาทต่อคน
ระยะเวลาในการชดเชยเยียวยา
1 เดือน (อาจมีการขยายต่อตามสถานการณ์)
วิธีรับเงินชดเชยเยียวยาจากประกันสังคม
นายจ้างบุคคลธรรมดา และผู้ประกันตนที่ได้รับการเยียวยา จะได้รับเงินเงินช่วยเหลือเยียวยาจากรัฐ ผ่านการโอนเข้าบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขประจำตัวประชาชนเท่านั้น เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการโอนเงินเข้าบัญชี
วิธีลงทะเบียนประกันสังคม มาตรา 33 (นายจ้างที่มีลูกจ้าง)
สำหรับนายจ้างนอกระบบที่มีลูกจ้าง ให้ดำเนินการดังนี้ เพื่อรับเงินเยียวยาจากรัฐ
- เข้าเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม https://www.sso.go.th เลือกหัวข้อ สถานประกอบการ
- เลือก “ขอทำธุรกรรมผ่านอินเทอร์เน็ต” กรอกข้อมูลให้ครบ เพื่อลงทะเบียน สปส. 1-05
- ระบบส่งแบบลงทะเบียน (สปส. 1-05) กลับทาง e-mail เพื่อพิมพ์แบบลงทะเบียน แล้วส่งสำนักงานประกันสังคม
- ผู้มีอำนาจลงนาม ประทับตราและพยาน 2 ท่าน
- สำนักงานประกันสังคมอนุมัติส่ง User-ID ให้ทาง e-mail เพื่อสถานประกอบการสามารถส่งข้อมูลงานทะเบียน
- แจ้งเข้า – แจ้งออก เปลี่ยนแปลงข้อมูลและส่งเงินสมทบประจำเดือน
สอบถามข้อมูล สายด่วนประกันสังคม โทร.1506 ตลอด 24 ชั่วโมง
ที่มาข้อมูล: รัชดา ธนาดิเรก - รองโฆษกรัฐบาล
วิธีลงทะเบียนประกันสังคม มาตรา 40 (อาชีพอิสระ ไม่มีลูกจ้าง)
วิธีการสมัครขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนมาตรา 40 สามารถสมัครได้ทั้งทางออนไลน์และด้วยตนเอง
- สมัครออนไลน์ได้ที่ https://www.sso.go.th/section40_regist/
- สมัครด้วยตนเองที่ สำนักงานประกันสังคมในพื้นที่ เซเว่นทุกสาขา ธ.ก.ส. และบิ๊กซี
วิธีการสมัครผู้ประกันตน มาตรา 40 ผ่านออนไลน์ เมื่อเข้าหน้าเว็บ https://www.sso.go.th/section40_regist/ แล้วให้ดำเนินการตามขั้นตอนจนเสร็จ ดังนี้
- กรอกข้อมูลส่วนตัว
- รายละเอียดข้อมูลติดต่อ
- เลือกรูปแบบเงินสมทบที่จะต้องจ่ายเป็นรายเดือนทุกเดือน มี 3 ทางเลือก สิทธิประโยชน์และความคุ้มครองแตกต่างกัน ซึ่งตั้งแต่เดือนส.ค.64 - ม.ค.65 ผู้ประกันตน ม.40 จ่ายเงินสมบทแค่60%จากยอดปกติ
- ทางเลือก 1 จ่ายเดือนละ 70 บาท (ลดเหลือ 42บาท) คุ้มครองเจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิ
- ทางเลือก 2 จ่ายเดือนละ 100 บาท (ลดเหลือ 60บาท) คุ้มครองเจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต ชราภาพ
- ทางเลือก 3 จ่ายเดือนละ 300 บาท (ลดเหลือ 180บาท) คุ้มครองเจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต ชราภาพ สงเคราะห์บุตร
- เลือกว่าเป็น ข้าราชการบำเหน็จบำนาญหรือไม่
- เลือกว่าเป็น ข้าราชการบำเหน็จบำนาญหรือไม่
- รอ SMS ยืนยันการสมัคร
- เมื่อได้รับ SMS แล้ว ให้จ่ายเงินค่าลงทะเบียน ที่ เคาน์เตอร์เซอร์วิส (เซเว่น) โลตัส บิ๊กซี ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรี ธ.ก.ส. ตู้บุญเติม CanPay Shopee Pay หรือจุดบริการที่สัญลักษณ์
- เมื่อชำระเงินแล้ว ต้องเก็บหลักฐานการชำระเงินไว้ เนื่องจากสิทธิเป็นผู้ประกันตน มาตรา40 จะเริ่มตั้งแต่วันที่ชำระเงินเป็นต้นไป
สอบถามเพิ่มเติม สายด่วนประกันสังคม โทร. 1506
ที่มาข้อมูล: รัชดา ธนาดิเรก - รองโฆษกรัฐบาล