เปลี่ยนจากบุคคลธรรมดาเป็นนิติบุคคล ต้องทำอะไรบ้าง

เปลี่ยนจากบุคคลธรรมดาเป็นนิติบุคคล ต้องทำอะไรบ้าง

6 สิ่งที่ต้องทำหลักจากเปลี่ยนรูปแบบกิจการจากบุคคลธรรมดาเป็นนิติบุคคล เช่น บริษัทจำกัด หรือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด คือ

   

1. เปิดบัญชีเงินฝากธนาคารในนามบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล 

สิ่งแรกๆที่ควรทำหลังจากจดทะเบียนตั้งนิติบุคคล คือ เปิดบัญชีธนาคารในนามบริษัทจำกัด หรือ เปิดบัญชีธนาคารในนามห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล นั้นๆ  เพื่อใช้ในการทำธุรกรรมทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับกิจการโดยเฉพาะ จะได้ไม่ปะปนกับบัญชีธนาคารส่วนตัวของเจ้าของ

  

เจ้าของกิจการ (บุคคลธรรมดา) ไม่ควรใช้บัญชีเงินฝากธนาคารส่วนตัวปนกับบัญชีเงินฝากธนาคารของนิติบุคคล เพราะจะทำให้เกิดความสับสน เกิดความยุ่งยากในการพิสูจน์รายการ ว่ารายการใดเป็นของส่วนตัว รายการใดเป็นของกิจการ  และเสี่ยงต่อการโดนส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรหากจำนวนครั้งและ/หรือจำนวนเงินที่เข้าบัญชีนั้น เข้าเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนดให้ธนาคารต้องนำส่งข้อมูลให้

  

ในการเปิดบัญชีธนาคารในนามนิติบุคคล จะต้องใช้เอกสารมากมาย หนึ่งในนั้นคือ รายงานการประชุมเพื่อขอเปิดบัญชีธนาคาร สามารถคลิกที่ลิงค์ เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้

  
2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม 

หากรายได้ถึง 1.8 ล้านบาท/ปี จะต้องดำเนินการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

  • เมื่อมีการขายสินค้าหรือให้บริการ จะต้องออกใบกำกับภาษีขาย
  • เมื่อมีการซื้อสินค้าหรือรับบริการจากผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม  จะต้องขอใบกำกับภาษี เพื่อนำมาใช้เป็นภาษีซื้อ

ใบกำกับภาษี ทั้งใบกำกับภาษีขาย และใบกำกับภาษีซื้อ จะต้องมีรายการถูกต้อง ครบถ้วน 

  

นอกจากนี้ ผู้ประกอบการต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นประจำทุกเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป  ไม่ว่าเดือนนั้นจะมียอดซื้อ/ยอดขายหรือไม่ก็ตาม

   

3. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 

เป็นหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดให้นิติบุคคลผู้จ่ายเงิน เมื่อมีการจ่ายเงิน เช่น ค่าแรง ค่าบริการต่างๆ ค่าเช่า ดอกเบี้ย เงินปันผล เป็นต้น จะต้องทำการหัก ณ ที่จ่าย ในอัตราตามที่กรมสรรพากรกำหนด และนำส่งกรมสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการจ่ายเงิน

     

4. เก็บเอกสาร บิลซื้อ - บิลขาย

นิติบุคคลจะต้องจัดทำบัญชี  และในการทำบัญชีนั้นจะต้องมีเอกสารประกอบการลงรายการบัญชี

  

ดังนั้น เมื่อมีการขายสินค้าหรือรับเงินค่าบริการก็ต้องมีการออกใบเสร็จรับเงินให้ถูกต้อง และเมื่อซื้อวัตถุดิบเพื่อใช้ผลิตสินค้าหรือ บริการ หรือจ่ายค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับกิจการ ต้องขอบิลทุกครั้ง  และรายละเอียดในบิลต้องถูกต้องครบถ้วน เพื่อให้สามารถนำมาใช้เป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้

   

5. จัดทำบัญชี 

ไม่ว่าจะเป็น บิลซื้อ-บิลขาย ใบกำกับภาษีซื้อ ใบกำกับภาษีขาย หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย เจ้าของกิจการ ต้องรวบรวมและสรุปนำส่งให้ "ผู้ทำบัญชี"  เพื่อนำไปดำเนินการลงบัญชี ปิดบัญชี และจัดทำงบการเงินตามรอบเวลา

  

ผู้ทำบัญชีจะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎหมาย  โดยจะเป็นพนักงานของบริษัท หรือว่าจ้างบุคคลภายนอก เช่น สำนักงานบัญชี หรือ ฟรีแลนซ์รับทำบัญชี ก็ได้  

   

ค้นหาและเลือกสรร "ผู้ทำบัญชี" ให้กิจการคุณกับ Accounting Center ได้ง่ายๆ เพียงคลิกที่รูปด้านล่างนี้....เรารวบรวมรายชื่อสำนักงานบัญชี ผู้ทำบัญชีอิสระ มาให้คุณแล้ว #สะดวก #ง่าย #ประหยัดเวลาตามหา

ค้นหา สำนักงานบัญชี รับทำบัญชี ใกล้ฉัน

   

6. จัดหาผู้สอบบัญชี

ผู้สอบบัญชี คือ คนนอกที่เป็นอิสระต่อกิจการ มีหน้าที่ตรวจสอบว่างบการเงินของกิจการ (ที่ผู้ทำบัญชีเป็นคนทำ) ถูกต้องตามควรหรือไม่

  

นิติบุคคลจะต้องจัดให้มีผู้สอบบัญชี ตรวจสอบและแสดงความเห็นต่องบการเงินประจำปี  ก่อนที่จะนำส่งงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

   

ค้นหาและเลือกสรร "ผู้สอบบัญชี" ให้กิจการคุณกับ Accounting Center ได้ง่ายๆ เพียงคลิกที่รูปด้านล่างนี้....เรารวบรวมรายชื่อผู้สอบบัญชีมาให้คุณแล้ว #สะดวก #ง่าย #ประหยัดเวลาตามหา

ค้นหา ผู้ตรวจสอบบัญชี CPA TA บริษัทตรวจสอบบัญชี ใกล้ฉัน

---
ที่มาข้อมูล: https://www.taxliteracy.academy

เปิดสำนักงานบัญชี-หาลูกค้า-รับทำบัญชีที่บ้าน-การตลาดสำนักงานบัญชี

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

Preloader

กำลังประมวลผลข้อมูล กรุณารอสักครู่